[ใหม่] จดหมายจากหมู่เกาะชเลจร(LETTRE DES ILES BALADAR/ปกแข็ง)
564 สัปดาห์ ที่แล้ว
- กรุงเทพมหานคร - คนดู 172
รายละเอียด
"จดหมายจากหมู่เกาะชเลจร(LETTRE DES ILES BALADAR/ปกแข็ง)"
ผู้เขียน : Jacques Prevert (ฌาคส์ เพร์แวรต์)
แปล : วัลยา วิวัฒน์ศร
บรรณาธิการต้นฉบับ : มกุฏ อรฤดี
สำนักพิมพ์ : ผีเสื้อฝรั่งเศส, สนพ.
พิมพ์ครั้งที่ 1 มิถุนายน 2555
จำนวน 144 หน้า สภาพใหม่ 100 %
ราคาขาย : 340 บาท
ฌาคส์ เพร๎แวรต์ ต่อต้านลัทธิล่าอาณานิคมมาแต่ไหนแต่ไร
ดังปรากฏในบทกวีของเขามากมายหลากหลายบท ตั้งแต่ ค.ศ.๑๙๓๐ เป็นต้นมา
งานประพันธ์ที่แสดงความคิดดังกล่าวชัดเจนยิ่งก็คือ
เรื่อง ‘จดหมายจากหมู่เกาะชเลจร’ ตีพิมพ์ภาษาฝรั่งเศสค.ศ. ๑๙๕๒ นี้
เพร๎แวรต์เรียกประเทศนักล่าอาณานิคมทุกประเทศรวมกันว่า ‘มหาทวีป’
ที่ซึ่งผู้ฅนบูชาเงินตราและเป็นแหล่งรวมแห่งข่าวโคมลอย ค่ายโจร ฯลฯ
ดังเห็นได้จากชื่อหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ ของมหาทวีป ชาวเกาะชเลจรนั้นตรงข้าม
พวกเขาอยู่อย่างสันติสุข ทำประมง ทำไร่ทำสวน หุงหาอาหารเอง และแต่งเพลงเอง
ยามฅนแปลกถิ่นมาเยือนก็มอบผลผลิตจากธรรมชาติต่างเงินตรา
อาทิ ผลสาลี่ ยาสูบ แยมดอกกุหลาบ
ความสุขของชาวเกาะชเลจรมิได้ขึ้นอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า
หากอยู่ในเสรีภาพและความสุขส่วนบุคคลซึ่งเป็นหนึ่งเดียวกันกับเสรีภาพ
และความสุขส่วนรวมของชาวเกาะทั้งปวง
เช่นนี้ชาวเกาะจึงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
อีกทั้งได้รับความร่วมมือจาก ‘ฅนงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง’
ซึ่งถูกเกณฑ์มาสร้างสะพานใหญ่เชื่อมมหาทวีปกับเกาะ
และพร้อมจะร่วมใจกับชาวเกาะตั้งแต่แรกรู้จัก
ฅนงานเหล่านี้ถอดสลักเกลียวจากเสาสะพาน หนีกลับไปบ้านในถิ่นไกลของตน
การต่อสู้ของชาวเกาะผู้เปี่ยมความคิดฝัน ด้วยมิเคยลืมวัยเด็กของตน
จะมีผลเป็นอย่างไร ผู้อ่านคงคาดเดาได้ และพึงใจ เมื่ออ่านนิยายเรื่องนี้ถึงตอนจบ
Jacques Prevert (ค.ศ.๑๙๐๐-๑๙๗๗) กวีชาวฝรั่งเศส
ผู้ใช้ภาษาเรียบง่ายเขียนบทกวีจนเป็นที่ชื่นชม
ของเพื่อนร่วมชาติและร่วมโลกผู้นี้ เรียนหนังสือเพียงน้อยนิด
ทว่า เรียนรู้เรื่องความทุกข์ยากตั้งแต่เล็ก เพราะติดตามบิดา
ซึ่งทำงานสงเคราะห์ฅนยากจนตามแหล่งต่างๆ
ในช่วงเกณฑ์ทหาร เพร๎แวรต์ได้รู้จักอีฟส์ ตองกีย์
ต่อมาเป็นจิตรกรเซอเรียลลิสต์ฅนสำคัญฅนหนึ่ง
และมาร์เซล ดูอาเมล ซึ่งต่อมาเป็นบรรณาธิการนวนิยายสืบสวนสอบสวน
หลังเกณฑ์ทหาร เพร๎แวรต์ได้เข้าสู่แวดวงวรรณกรรม
เขียนบทกวี บทเพลง บทภาพยนตร์ นิทาน และนิยาย
รวมบทกวีชื่อ ‘ถ้อยคำ’ (Paroles) ตีพิมพ์ ค.ศ.๑๙๔๖
ทำให้เพร๎แวรต์มีชื่อเสียงอย่างที่กวีน้อยฅนจะได้รับ
ทั้งนี้เนื่องจากบทกวีของเขามีเนื้อหาว่าด้วยอนาธิปไตย
และการปกป้องเสรีภาพ
สอดคล้องกับบรรยากาศในขณะนั้น
ซึ่งประเทศฝรั่งเศสหลุดพ้นจากการยึดครองของนาซี
นอกจากนี้การใช้ภาษาพูด ใช้คำง่ายๆ ติดปาก
ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้บทกวีของเขา
ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง
‘นิทานเด็กซน’ (ค.ศ.๑๙๔๗)
‘จดหมายจากหมู่เกาะชเลจร’ (ค.ศ.๑๙๕๒)
และ ‘โรงอุปรากรแห่งดวงจันทร์’ (ค.ศ.๑๙๕๓)
ล้วนว่าด้วยการปกป้องเสรีภาพจากการคุกคามรูปแบบต่างๆ
ไม่ว่าการใช้ความรุนแรง สงคราม หรือการล่าอาณานิคม
เมื่อ ค.ศ.๒๐๐๗ ที่ผ่านมา รัฐบาลฝรั่งเศสฉลองครบ ๓๐ ปี
แห่งมรณกรรมของกวีผู้นี้ ในประเทศฝรั่งเศส และประเทศต่างๆ
------------------------------------------------------------------------------------------------
กาลครั้งหนึ่ง และนั่นก็นมนานแล้ว กลางสี่มุมโลก
มีหมู่เกาะซึ่งราชินีแห่งท้องทะเลปกปักรักษา
นี้เป็นหมู่เกาะแสนหวงแหน นางตั้งชื่อให้ว่า
หมู่เกาะต้องใจ
บางครั้งบางครา (ทว่า แทบจะไม่เคยเกิดขึ้น)
นักเดินเรือใจกล้า
เจ้าของกล้องส่องทางไกลคุณภาพดีเลิศ
เผอิญจับภาพเกาะหนึ่งของหมู่เกาะนี้ได้
วูบไหวอยู่ใต้แสงอาทิตย์
แต่เสียงอุทาน “แผ่นดิน!” ยังไม่ทันแผ่วจาง
เกาะนั้นพลันเลือนหาย
ใต้กลุ่มหมอกที่ก่อตัวฉับพลัน
แล้วทันใดก็บังเกิดพายุไซโคลน พายุทอร์นาโด
พายุใต้ฝุ่น อีกทั้งคลื่นใต้น้ำหลายระรอก
กะลาสีย่อมอยากทำสิ่งอื่นในท้องทะเล
มากกว่าการอับปางทุกวัน
พวกเขาจึงไม่ใส่ใจสำรวจต่อ
พวกเขาเรียกเกาะเหล่านี้ว่า หมู่เกาะชเลจร
ทั้งนี้เป็นเพราะเกาะเหล่านี้ไม่เคยอยู่กับที่
ผู้เขียน : Jacques Prevert (ฌาคส์ เพร์แวรต์)
แปล : วัลยา วิวัฒน์ศร
บรรณาธิการต้นฉบับ : มกุฏ อรฤดี
สำนักพิมพ์ : ผีเสื้อฝรั่งเศส, สนพ.
พิมพ์ครั้งที่ 1 มิถุนายน 2555
จำนวน 144 หน้า สภาพใหม่ 100 %
ราคาขาย : 340 บาท
ฌาคส์ เพร๎แวรต์ ต่อต้านลัทธิล่าอาณานิคมมาแต่ไหนแต่ไร
ดังปรากฏในบทกวีของเขามากมายหลากหลายบท ตั้งแต่ ค.ศ.๑๙๓๐ เป็นต้นมา
งานประพันธ์ที่แสดงความคิดดังกล่าวชัดเจนยิ่งก็คือ
เรื่อง ‘จดหมายจากหมู่เกาะชเลจร’ ตีพิมพ์ภาษาฝรั่งเศสค.ศ. ๑๙๕๒ นี้
เพร๎แวรต์เรียกประเทศนักล่าอาณานิคมทุกประเทศรวมกันว่า ‘มหาทวีป’
ที่ซึ่งผู้ฅนบูชาเงินตราและเป็นแหล่งรวมแห่งข่าวโคมลอย ค่ายโจร ฯลฯ
ดังเห็นได้จากชื่อหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ ของมหาทวีป ชาวเกาะชเลจรนั้นตรงข้าม
พวกเขาอยู่อย่างสันติสุข ทำประมง ทำไร่ทำสวน หุงหาอาหารเอง และแต่งเพลงเอง
ยามฅนแปลกถิ่นมาเยือนก็มอบผลผลิตจากธรรมชาติต่างเงินตรา
อาทิ ผลสาลี่ ยาสูบ แยมดอกกุหลาบ
ความสุขของชาวเกาะชเลจรมิได้ขึ้นอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า
หากอยู่ในเสรีภาพและความสุขส่วนบุคคลซึ่งเป็นหนึ่งเดียวกันกับเสรีภาพ
และความสุขส่วนรวมของชาวเกาะทั้งปวง
เช่นนี้ชาวเกาะจึงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
อีกทั้งได้รับความร่วมมือจาก ‘ฅนงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง’
ซึ่งถูกเกณฑ์มาสร้างสะพานใหญ่เชื่อมมหาทวีปกับเกาะ
และพร้อมจะร่วมใจกับชาวเกาะตั้งแต่แรกรู้จัก
ฅนงานเหล่านี้ถอดสลักเกลียวจากเสาสะพาน หนีกลับไปบ้านในถิ่นไกลของตน
การต่อสู้ของชาวเกาะผู้เปี่ยมความคิดฝัน ด้วยมิเคยลืมวัยเด็กของตน
จะมีผลเป็นอย่างไร ผู้อ่านคงคาดเดาได้ และพึงใจ เมื่ออ่านนิยายเรื่องนี้ถึงตอนจบ
Jacques Prevert (ค.ศ.๑๙๐๐-๑๙๗๗) กวีชาวฝรั่งเศส
ผู้ใช้ภาษาเรียบง่ายเขียนบทกวีจนเป็นที่ชื่นชม
ของเพื่อนร่วมชาติและร่วมโลกผู้นี้ เรียนหนังสือเพียงน้อยนิด
ทว่า เรียนรู้เรื่องความทุกข์ยากตั้งแต่เล็ก เพราะติดตามบิดา
ซึ่งทำงานสงเคราะห์ฅนยากจนตามแหล่งต่างๆ
ในช่วงเกณฑ์ทหาร เพร๎แวรต์ได้รู้จักอีฟส์ ตองกีย์
ต่อมาเป็นจิตรกรเซอเรียลลิสต์ฅนสำคัญฅนหนึ่ง
และมาร์เซล ดูอาเมล ซึ่งต่อมาเป็นบรรณาธิการนวนิยายสืบสวนสอบสวน
หลังเกณฑ์ทหาร เพร๎แวรต์ได้เข้าสู่แวดวงวรรณกรรม
เขียนบทกวี บทเพลง บทภาพยนตร์ นิทาน และนิยาย
รวมบทกวีชื่อ ‘ถ้อยคำ’ (Paroles) ตีพิมพ์ ค.ศ.๑๙๔๖
ทำให้เพร๎แวรต์มีชื่อเสียงอย่างที่กวีน้อยฅนจะได้รับ
ทั้งนี้เนื่องจากบทกวีของเขามีเนื้อหาว่าด้วยอนาธิปไตย
และการปกป้องเสรีภาพ
สอดคล้องกับบรรยากาศในขณะนั้น
ซึ่งประเทศฝรั่งเศสหลุดพ้นจากการยึดครองของนาซี
นอกจากนี้การใช้ภาษาพูด ใช้คำง่ายๆ ติดปาก
ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้บทกวีของเขา
ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง
‘นิทานเด็กซน’ (ค.ศ.๑๙๔๗)
‘จดหมายจากหมู่เกาะชเลจร’ (ค.ศ.๑๙๕๒)
และ ‘โรงอุปรากรแห่งดวงจันทร์’ (ค.ศ.๑๙๕๓)
ล้วนว่าด้วยการปกป้องเสรีภาพจากการคุกคามรูปแบบต่างๆ
ไม่ว่าการใช้ความรุนแรง สงคราม หรือการล่าอาณานิคม
เมื่อ ค.ศ.๒๐๐๗ ที่ผ่านมา รัฐบาลฝรั่งเศสฉลองครบ ๓๐ ปี
แห่งมรณกรรมของกวีผู้นี้ ในประเทศฝรั่งเศส และประเทศต่างๆ
------------------------------------------------------------------------------------------------
กาลครั้งหนึ่ง และนั่นก็นมนานแล้ว กลางสี่มุมโลก
มีหมู่เกาะซึ่งราชินีแห่งท้องทะเลปกปักรักษา
นี้เป็นหมู่เกาะแสนหวงแหน นางตั้งชื่อให้ว่า
หมู่เกาะต้องใจ
บางครั้งบางครา (ทว่า แทบจะไม่เคยเกิดขึ้น)
นักเดินเรือใจกล้า
เจ้าของกล้องส่องทางไกลคุณภาพดีเลิศ
เผอิญจับภาพเกาะหนึ่งของหมู่เกาะนี้ได้
วูบไหวอยู่ใต้แสงอาทิตย์
แต่เสียงอุทาน “แผ่นดิน!” ยังไม่ทันแผ่วจาง
เกาะนั้นพลันเลือนหาย
ใต้กลุ่มหมอกที่ก่อตัวฉับพลัน
แล้วทันใดก็บังเกิดพายุไซโคลน พายุทอร์นาโด
พายุใต้ฝุ่น อีกทั้งคลื่นใต้น้ำหลายระรอก
กะลาสีย่อมอยากทำสิ่งอื่นในท้องทะเล
มากกว่าการอับปางทุกวัน
พวกเขาจึงไม่ใส่ใจสำรวจต่อ
พวกเขาเรียกเกาะเหล่านี้ว่า หมู่เกาะชเลจร
ทั้งนี้เป็นเพราะเกาะเหล่านี้ไม่เคยอยู่กับที่