[ใหม่] ปวดเข่่า ดูแลอย่างไร

441 สัปดาห์ ที่แล้ว - นครศรีธรรมราช - เมืองนครศรีธรรมราช - คนดู 87

400 ฿

  • ปวดเข่่า ดูแลอย่างไร รูปที่ 1
  • ปวดเข่่า ดูแลอย่างไร รูปที่ 3
รายละเอียด
ปวดเข่า

ข้อเข่าประกอบด้วยกระดูกสองชั้นมาต่อกัน คือ ปลายกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง มีกระดูกสะบ้าวางอยู่ข้างหน้าข้อเข่า จะเห็นว่าโครงสร้างของข้อเข่าไม่ค่อยจะมั่นคงนัก ต้องอาศัยกล้ามเนื้อและพังผืดที่ห่อหุ้มอยู่รอบๆข้อเป็นตัวค้ำจุน โดยเฉพาะตัวเรานี้ ไม่เพียงแต่ทิ้งน้ำหนักลงมาที่ข้อเข่านี้ในขณะลุกขึ้นยืนเท่านั้น เรายังกระแทกทุกครั้งที่เราวิ่งหรือกระโดด ซึ่งทำให้ข้อเข่าต้องรับภาระอย่างหนักตลอดเวลา

สาเหตุของอาการปวดเข่า
1. ข้ออักเสบรูมาตอยด์
2. โรคกระดูกพรุน
3. ข้ออักเสบจากโรคเกาต์
4. ข้ออักเสบจากโรคสะเก็ดเงิน
5. ประกอบอาชีพที่ต้องยืนนานๆ
6. ภาวะติดเชื้อจากโรคอื่น ๆ เช่น หนองใน เนื้องอกหรือมะเร็งที่กระดูก
7. ภาวะข้อเสื่อม
8. อายุที่มากขึ้น ทำให้เกิดข้อเสื่อมได้ ทำให้ปวดเข่าได้
9. รับน้ำหนักมากเกิน เช่น อาชีพกรรมกรแบกหาม หรือเป็นคนอ้วน ทำให้ปวดเข่าได้
10. ภาวะติดเชื้อในกระดูกหรือข้อ
11. กีฬาที่ต้องใช้เข่ารับน้ำหนักมาก เช่น นักวิ่ง นักปั่นจักรยาน นักบาสเกตบอล นักฟุตบอล นักกอล์ฟ เป็นต้น
12. กรรมพันธุ์
13. ได้รับบาดเจ็บที่หัวเข่า

อาการของโรคปวดเข่า
1. เสียงกรอบแกรบขณะที่เคลื่อนไหว ซึ่งเสียงที่เกิดขึ้นอาจมาจากการเสียดสี ของผิวข้อภายในข้อเข่า

2. ปวดขัดในข้อเข่าเรื้อรังเป็นแรมเดือน แรมปี หรือในบางรายมีอาการปวดจะปวดเสียว เสียวแปล๊บๆ หรือมีอาการปวดร่วมกับอาการตึงร้าวจากต้นขาหรือข้อสะโพก

3. มักจะอาการปวดเข่ามากเวลาเปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่ายืน หรืออยู่ในท่างอเข่า หรือท่านั่งคุกเข่า หรือนั่งพับเพียบ หรือเดินขึ้นลงบันได หรือยกของหนัก

4. หากปล่อยอาการปวดเข่าไว้นาน จะมีการอักเสบบวม บวมแดง หากปวดเข่าเรื้อรังเป็นเวลานานก็จะกลายเป็นสาเหตุของภาวะข้อเสื่อมซึ่งเป็นภาวะที่บั่นทอนประสิทธิภาพการใช้งานของข้อลง

5. มีอาการปวดตอนกลางคืน หรือเวลาอากาศเย็นชื้น

6. มีการผิดรูปของข้อเข่า ซึ่งเกิดจากผิวข้อ (Articular Cartilage) บางลง แล้วตัวของกระดูกมีการเสียดสีกัน จนเกิดกระดูกงอก ทำให้เข่าผิดรูปและขยาย ซึ่งพบว่าผู้ที่มีเข่าเสื่อมอย่างรุนแรง รอบข้อเข่าจะใหญ่ขึ้น


ข้อแนะนำของผู้ป่วยโรคปวดเข่า

1. อย่าเดินมาก อย่ายืนนาน

2. หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้อาการปวดเข่ากำเริบ เช่น ยกของหนัก ยืนนาน นั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งยองๆ เดินขึ้นลงบันได

3. หากต้องการออกกำลังกาย ควรพิจารณาถึงแรงกระแทกที่จะมีผลต่อข้อ
· แอโรบิค ควรออกเลือกท่าที่ใช้ความแรงระดับเบาถึงปานกลาง
· เดินเร็ว เหมาะสำหรับคนไข้ที่มีกล้ามเนื้อต้นขาแข็งแรงเพียงพอ
· การปั่นจักรยาน ปรับความสูงของอานนั่งให้สูงกว่าปกติเล็กน้อยหรือให้พอเหมาะ เพื่อลดการงอเข่าที่มากเกินไป หลีกเลี่ยง การถีบจักรยานที่ตั้งความฝืด ระดับความสูงไม่เหมาะสม จะเพิ่มความบาดเจ็บให้กับข้อเข่าได้ เพราะมีการเสียดสีกันของข้อเข่า

4. การออกกำลังกายในน้ำเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่มี ภาวะเข่าเสื่อม น้ำมีแรงพยุงตัวท้าให้ข้อเข่ารับน้ำหนักน้อยลง จึงเหมาะกับผู้ที่มี อาการปวดเข่าและมีน้ำหนักตัวมาก แรงหนืดของน้ำ ทำให้ต้องออกแรงมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ดี

5. ควรหลีกเลี่ยงกีฬา ดังต่อไปนี้

5.1 หลีกเลี่ยงกระโดดเชือก Free Running Parkour หรือเต้นแอโรบิคบางท่าที่มีการกระโดดหรือบิดงอ หัวเข่ามาก เพราะจะมีแรงกระทำต่อข้อเข่าสูงมากถึง 7-9 เท่าของน้ำหนักตัว
5.2 การวิ่งจ๊อกกิ้ง เทนนิส แบดมินตัน เวลาที่วิ่งตัวลอย เพราะน้ำหนักจะกระแทกลงที่ข้อเข่า ท้าให้กระดูกอ่อนผิวข้อเสียดสีกันรุนแรง ส่งผลให้ผิวกระดูกอ่อนเสียหาย สึกบางลงได้
6. ถ้าผู้ป่วยโรคปวดเข่ามีน้ำหนักตัวมาก พยายามลดน้ำหนัก

7. บริหารกล้ามเนื้อเข่า

8. ใช้อุปกรณ์พยุงข้อ หรือสนับเข่า

9. ใช้อุปกรณ์ช่วยเดินหากเดินได้ไม่สะดวก


กรอกเพื่อขอรับคำปรึกษาหรือโทร 094-102-3766 หรือคลิก http://www.leejangmeng.com/บทความเพื่อสุขภาพ/ปวดเข่า.html